ข้อสอบติวสด รอบภายใน ปี 2567 ครั้งที่ 15

ข้อสอบติวสด รอบภายใน ปี 2567 ครั้งที่ 15

12th Grade

10 Qs

quiz-placeholder

Similar activities

ข้อสอบการพูดม.4

ข้อสอบการพูดม.4

9th - 12th Grade

10 Qs

ทดสอบก่อนเรียน โครงสร้างโลก

ทดสอบก่อนเรียน โครงสร้างโลก

KG - 12th Grade

10 Qs

การสร้างสรรค์ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์

การสร้างสรรค์ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์

12th Grade - Professional Development

15 Qs

การใช้ภาษาโต้แย้ง

การใช้ภาษาโต้แย้ง

12th Grade

10 Qs

Law quiz

Law quiz

10th Grade - University

15 Qs

กล้องระดับและเครื่องมือที่ใช้ในการระดับ

กล้องระดับและเครื่องมือที่ใช้ในการระดับ

9th - 12th Grade

10 Qs

บทที่ 10 การพูด

บทที่ 10 การพูด

9th Grade - University

10 Qs

หน่วยที่ 2 กฎหมายกับการดำเนินชีวิตประจำวัน

หน่วยที่ 2 กฎหมายกับการดำเนินชีวิตประจำวัน

12th Grade

10 Qs

ข้อสอบติวสด รอบภายใน ปี 2567 ครั้งที่ 15

ข้อสอบติวสด รอบภายใน ปี 2567 ครั้งที่ 15

Assessment

Quiz

Other

12th Grade

Hard

Created by

เพจกฎหมายสำหรับสอบตำรวจ Woody Law

Used 1+ times

FREE Resource

10 questions

Show all answers

1.

MULTIPLE CHOICE QUESTION

30 sec • 1 pt

พยานหลักฐานที่เกิดขึ้นจากการจูงใจ ขู่เข็ญ หรือโดยมิชอบรับฟังได้หรือไม่ ตามข้อใด

รับฟังไม่ได้เลย

รับฟังไม่ได้ หากคู่ความคัดค้าน

รับฟังได้ เพราะเป็นดุลยพินิจของศาล

รับฟังได้ หากคู่ความอีกฝ่ายไม่คัดค้าน

Answer explanation

มาตรา ๒๒๖ พยานวัตถุ พยานเอกสาร หรือพยานบุคคลซึ่งน่าจะพิสูจน์ได้ว่าจำเลยมีผิดหรือบริสุทธิ์ ให้อ้างเป็นพยานหลักฐานได้ แต่ต้องเป็นพยานชนิดที่มิได้เกิดขึ้นจากการจูงใจ มีคำมั่นสัญญา ขู่เข็ญ หลอกหลวงหรือโดยมิชอบประการอื่น และให้สืบตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่นอันว่าด้วยการสืบพยาน

2.

MULTIPLE CHOICE QUESTION

30 sec • 1 pt

ในกรณีที่ความปรากฏแก่ศาลว่าพยานหลักฐานเกิดขึ้นโดยมิชอบ ห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานหลักฐานนั้น เว้นแต่ตามข้อใด

การรับฟังพยานนั้นจะเป็นประโยชน์ต่อการอำนวยความยุติธรรมมากกว่าผลเสีย

การรับฟังพยานนั้นจะเป็นประโยชน์ต่อการลงโทษจำเลย

การรับฟังพยานนั้นจะเป็นประโยชน์ต่อการลงโทษผู้กระทำความผิด

ไม่มีข้อยกเว้น เพราะกฎหมายห้ามศาลรับฟัง

Answer explanation

มาตรา ๒๒๖ พยานวัตถุ พยานเอกสาร หรือพยานบุคคลซึ่งน่าจะพิสูจน์ได้ว่าจำเลยมีผิดหรือบริสุทธิ์ ให้อ้างเป็นพยานหลักฐานได้ แต่ต้องเป็นพยานชนิดที่มิได้เกิดขึ้นจากการจูงใจ มีคำมั่นสัญญา ขู่เข็ญ หลอกหลวงหรือโดยมิชอบประการอื่น และให้สืบตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่นอันว่าด้วยการสืบพยาน

3.

MULTIPLE CHOICE QUESTION

30 sec • 1 pt

ศาลจะรับฟังพยานหลักฐานที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดครั้งอื่นๆ หรือความประพฤติในทางเสื่อมเสียของจำเลยเพื่อพิสูจน์ว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดในคดีที่ถูกฟ้อง เว้นแต่ตามข้อใด

ไม่มีข้อยกเว้น เพราะกฎหมายห้ามศาลรับฟังไโดยเด็ดขาด

พยานหลักฐานที่เกี่ยวเนื่องโดยตรงกับองค์ประกอบความผิดของคดีที่ฟ้อง

พยานหลักฐานที่แสดงถึงการกระทำความผิดของจำเลย

พยานหลักฐานที่หักล้างข้อกล่าวอ้างของความประพฤติในส่วนชั่วของจำเลย

Answer explanation

มาตรา ๒๒๖/๒[147]   ห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานหลักฐานที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดครั้งอื่นๆ หรือความประพฤติในทางเสื่อมเสียของจำเลย เพื่อพิสูจน์ว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดในคดีที่ถูกฟ้องเว้นแต่พยานหลักฐานอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้

(๑) พยานหลักฐานที่เกี่ยวเนื่องโดยตรงกับองค์ประกอบความผิดของคดีที่ฟ้อง

(๒) พยานหลักฐานที่แสดงถึงลักษณะ วิธี หรือรูปแบบเฉพาะในการกระทำความผิดของจำเลย

(๓) พยานหลักฐานที่หักล้างข้อกล่าวอ้างของจำเลยถึงการกระทำ หรือความประพฤติในส่วนดีของจำเลย

ความในวรรคหนึ่งไม่ห้ามการนำสืบพยานหลักฐานดังกล่าว เพื่อให้ศาลใช้ประกอบดุลพินิจในการกำหนดโทษหรือเพิ่มโทษ

4.

MULTIPLE CHOICE QUESTION

30 sec • 1 pt

การใช้ดุลพินิจรับฟังพยานหลักฐานที่เกิดขึ้นโดยชอบ แต่ได้มาโดยมิชอบ ศาลควรพิจารณาปัจจัยใด?

ผู้ที่กระทำการโดยมิชอบอันเป็นเหตุให้ได้พยานหลักฐานมานั้นได้รับการลงโทษหรือไม่เพียงใด

ลักษณะและความเสียหายที่เกิดจากการกระทำโดยมิชอบ

พฤติการณ์และความร้ายแรงของความผิดในคดี

ถูกทุกข้อ

Answer explanation

มาตรา ๒๒๖/๑[146]   ในกรณีที่ความปรากฏแก่ศาลว่า พยานหลักฐานใดเป็นพยานหลักฐานที่เกิดขึ้นโดยชอบแต่ได้มาเนื่องจากการกระทำโดยมิชอบ หรือเป็นพยานหลักฐานที่ได้มาโดยอาศัยข้อมูลที่เกิดขึ้นหรือได้มาโดยมิชอบ ห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานหลักฐานนั้น เว้นแต่การรับฟังพยานหลักฐานนั้นจะเป็นประโยชน์ต่อการอำนวยความยุติธรรมมากกว่าผลเสียอันเกิดจากผลกระทบต่อมาตรฐานของระบบงานยุติธรรมทางอาญาหรือสิทธิเสรีภาพพื้นฐานของประชาชน

ในการใช้ดุลพินิจรับฟังพยานหลักฐานตามวรรคหนึ่ง ให้ศาลพิจารณาถึงพฤติการณ์ทั้งปวงแห่งคดี โดยต้องคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ ดังต่อไปนี้ด้วย

(๑) คุณค่าในเชิงพิสูจน์ ความสำคัญ และความน่าเชื่อถือของพยานหลักฐานนั้น

(๒) พฤติการณ์และความร้ายแรงของความผิดในคดี

(๓) ลักษณะและความเสียหายที่เกิดจากการกระทำโดยมิชอบ

(๔) ผู้ที่กระทำการโดยมิชอบอันเป็นเหตุให้ได้พยานหลักฐานมานั้นได้รับการลงโทษหรือไม่เพียงใด

5.

MULTIPLE CHOICE QUESTION

30 sec • 1 pt

ในคดีความผิดเกี่ยวกับเพศ ห้ามมิให้จำเลยนำสืบด้วยพยานหลักฐานหรือถามค้านด้วยคำถามอันเกี่ยวกับพฤติกรรมทางเพศของผู้เสียหายกับบุคคลอื่นนอกจากจำเลย เว้นแต่ตามข้อใด

พยานหลักฐานที่เกี่ยวเนื่องโดยตรงกับองค์ประกอบความผิดของคดีที่ฟ้อง

พยานหลักฐานที่แสดงถึงลักษณะ วิธี หรือรูปแบบเฉพาะในการกระทำความผิดของจำเลย

พยานหลักฐานที่หักล้างข้อกล่าวอ้างของจำเลยถึงการกระทำ หรือความประพฤติในส่วนดีของจำเลย

ได้รับอนุญาตจากศาลตามคำขอ

Answer explanation

มาตรา ๒๒๖/๔ ในคดีความผิดเกี่ยวกับเพศ ห้ามมิให้จำเลยนำสืบด้วยพยานหลักฐานหรือถามค้านด้วยคำถามอันเกี่ยวกับพฤติกรรมทางเพศของผู้เสียหายกับบุคคลอื่นนอกจากจำเลย เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาลตามคำขอ

ศาลจะอนุญาตตามคำขอในวรรคหนึ่ง เฉพาะในกรณีที่ศาลเห็นว่าจะก่อให้เกิดความยุติธรรมในการพิจารณาพิพากษาคดี

6.

MULTIPLE CHOICE QUESTION

30 sec • 1 pt

ในการวินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานบอกเล่า ศาลควรระมัดระวังอย่างไร?

ไม่ควรเชื่อพยานหลักฐานนั้นโดยลำพัง

ควรเชื่อพยานหลักฐานนั้นโดยลำพัง

ควรเชื่อพยานหลักฐานนั้นโดยลำพังเพื่อลงโทษจำเลย

ควรเชื่อพยานหลักฐานนั้นโดยลำพังเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม

Answer explanation

มาตรา ๒๒๗/๑[151]  ในการวินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานบอกเล่า พยานซัดทอด พยานที่จำเลยไม่มีโอกาสถามค้าน หรือพยานหลักฐานที่มีข้อบกพร่องประการอื่นอันอาจกระทบถึงความน่าเชื่อถือของพยานหลักฐานนั้น ศาลจะต้องกระทำด้วยความระมัดระวัง และไม่ควรเชื่อพยานหลักฐานนั้นโดยลำพังเพื่อลงโทษจำเลย เว้นแต่จะมีเหตุผลอันหนักแน่น มีพฤติการณ์พิเศษแห่งคดี หรือมีพยานหลักฐานประกอบอื่นมาสนับสนุน

พยานหลักฐานประกอบตามวรรคหนึ่ง หมายถึง พยานหลักฐานอื่นที่รับฟังได้ และมีแหล่งที่มาเป็นอิสระต่างหากจากพยานหลักฐานที่ต้องการพยานหลักฐานประกอบนั้น ทั้งจะต้องมีคุณค่าเชิงพิสูจน์ที่สามารถสนับสนุนให้พยานหลักฐานอื่นที่ไปประกอบมีความน่าเชื่อถือมากขึ้นด้วย

7.

MULTIPLE SELECT QUESTION

30 sec • 1 pt

มาตรา ๒๒๗/๑ ในการวินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานบอกเล่า พยานซัดทอด พยานที่จำเลยไม่มีโอกาสถามค้าน หรือพยานหลักฐานที่มีข้อบกพร่องประการอื่นอันอาจกระทบถึงความน่าเชื่อถือของพยานหลักฐานนั้น ศาลจะต้องกระทำด้วยความระมัดระวัง และไม่ควรเชื่อพยานหลักฐานนั้นโดยลำพังเพื่อลงโทษจำเลย เว้นแต่จะมีเหตุผลอันหนักแน่น มีพฤติการณ์พิเศษแห่งคดี หรือมีพยานหลักฐานประกอบอื่นมาสนับสนุน

พยานหลักฐานประกอบตามวรรคหนึ่งหมายถึงข้อใด

พยานหลักฐานอื่นที่รับฟังได้

มีแหล่งที่มาเป็นอิสระต่างหากจากพยานหลักฐานที่ต้องการพยานหลักฐานประกอบนั้น

มีคุณค่าเชิงพิสูจน์ที่สามารถสนับสนุนให้พยานหลักฐานอื่นที่ไปประกอบมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น

ถูกทุกข้อ

Answer explanation

มาตรา ๒๒๗/๑[151] ในการวินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานบอกเล่า พยานซัดทอด พยานที่จำเลยไม่มีโอกาสถามค้าน หรือพยานหลักฐานที่มีข้อบกพร่องประการอื่นอันอาจกระทบถึงความน่าเชื่อถือของพยานหลักฐานนั้น ศาลจะต้องกระทำด้วยความระมัดระวัง และไม่ควรเชื่อพยานหลักฐานนั้นโดยลำพังเพื่อลงโทษจำเลย เว้นแต่จะมีเหตุผลอันหนักแน่น มีพฤติการณ์พิเศษแห่งคดี หรือมีพยานหลักฐานประกอบอื่นมาสนับสนุน

พยานหลักฐานประกอบตามวรรคหนึ่ง หมายถึง พยานหลักฐานอื่นที่รับฟังได้ และมีแหล่งที่มาเป็นอิสระต่างหากจากพยานหลักฐานที่ต้องการพยานหลักฐานประกอบนั้น ทั้งจะต้องมีคุณค่าเชิงพิสูจน์ที่สามารถสนับสนุนให้พยานหลักฐานอื่นที่ไปประกอบมีความน่าเชื่อถือมากขึ้นด้วย

Create a free account and access millions of resources

Create resources
Host any resource
Get auto-graded reports
or continue with
Microsoft
Apple
Others
By signing up, you agree to our Terms of Service & Privacy Policy
Already have an account?