ติวสอบพนักงานสอบสวน รอบภายใน ครั้งที่ 6

ติวสอบพนักงานสอบสวน รอบภายใน ครั้งที่ 6

University

10 Qs

quiz-placeholder

Similar activities

SOC112 W10

SOC112 W10

University

10 Qs

ติวสด พงส. ปี 2567 ครั้งที่ 25 พรบ.วิธีปฏิบัติราชการ

ติวสด พงส. ปี 2567 ครั้งที่ 25 พรบ.วิธีปฏิบัติราชการ

University

10 Qs

แบบทดสอบก่อนเรียน "ผู้เสียหาย"

แบบทดสอบก่อนเรียน "ผู้เสียหาย"

University

10 Qs

วิแพ่ง : คู่ความ

วิแพ่ง : คู่ความ

University

15 Qs

CeraVe intelligence

CeraVe intelligence

KG - Professional Development

15 Qs

Pre-Test W.5 GEN64-132 Ethics

Pre-Test W.5 GEN64-132 Ethics

University

10 Qs

แบบทดสอบก่อนสอบปลายภาค "อำนาจสอบสวน"

แบบทดสอบก่อนสอบปลายภาค "อำนาจสอบสวน"

University

11 Qs

แบบทดสอบเขียนหนัก

แบบทดสอบเขียนหนัก

8th Grade - University

12 Qs

ติวสอบพนักงานสอบสวน รอบภายใน ครั้งที่ 6

ติวสอบพนักงานสอบสวน รอบภายใน ครั้งที่ 6

Assessment

Quiz

Moral Science

University

Easy

Created by

เพจกฎหมายสำหรับสอบตำรวจ Woody Law

Used 9+ times

FREE Resource

10 questions

Show all answers

1.

MULTIPLE CHOICE QUESTION

2 mins • 1 pt

บุคคลใดต่อไปนี้ไม่มีความผิดฐานติดสินบนเจ้าพนักงาน ม.144

นายแดงให้เงินเจ้าหน้าที่ขนส่งให้ช่วยออกใบอนุญาตขับขี่โดยที่ไม่ต้องสอบ

นายดำรับว่าจะให้เงินกับเจ้าหน้าที่ที่ดินหากออกโฉนดในที่ดินที่ไม่มีเอกสารสิทธิให้

นายขาวเอากระเช้าไปให้ตำรวจที่ช่วยจับคนร้ายที่ลักทรัพย์ตนเอง

ทุกข้อผิด ม.144

Answer explanation

มาตรา ๑๔๔ ผู้ใดให้ ขอให้หรือรับว่าจะให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดแก่เจ้าพนักงาน สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งรัฐ สมาชิกสภาจังหวัดหรือสมาชิกสภาเทศบาล เพื่อจูงใจให้กระทำการ ไม่กระทำการหรือประวิงการกระทำอันมิชอบด้วยหน้าที่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

2.

MULTIPLE CHOICE QUESTION

2 mins • 1 pt

ข้อใดต่อไปนี้เป็นความผิดฐานติดสินบนเจ้าพนักงาน ม.144 สำเร็จ

นายแดงให้ทรัพย์สินแก่เจ้าหน้าที่ขนส่งเพื่อออกใบขับขี่ให้โดยที่ไม่ต้องสอบ

นายดำขอว่าจะให้เงินแก่เจ้าหน้าที่ที่ดินจำนวน 100,000 บาท เพื่อตอบแทนหากเจ้าหน้าที่ออกโฉนดในที่ดินที่ไม่มีเอกสารสิทธิให้

นายขาวรับว่าจะให้เงินแก่ตำรวจหากไม่จับกุมคดีเล่นการพนัน

ถูกทุกข้อ

Answer explanation

  • คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 58/2566

  • ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 144 เป็นความผิดสำเร็จเมื่อมีการให้ ขอให้หรือรับว่าจะให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดแก่เจ้าพนักงาน แม้จะยังมิได้ส่งมอบทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดแก่เจ้าพนักงานก็ตาม การที่ ร. โทรศัพท์ติดต่อให้จำเลยที่ 1 นำเงินจำนวน 50,000 บาท มาให้เจ้าพนักงานตำรวจ จำเลยที่ 1 เพิ่งเข้ามาเกี่ยวข้องโดยเป็นผู้นำเงินสินบนมาที่บ้านเกิดเหตุหลังจากความผิดสำเร็จแล้ว จึงมิใช่เป็นการร่วมกระทำความผิดกับ ร. ในลักษณะของตัวการ ทั้งมิใช่เป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในการที่ผู้อื่นกระทำความผิดก่อนหรือขณะกระทำความผิดจึงไม่เป็นผู้สนับสนุน อีกทั้งเมื่อจำเลยที่ 1 มาถึง ก็ถูกร้อยตำรวจเอก ธ. กับพวกจับกุมทันทีโดยไม่มีโอกาสที่จะพูดคุยกับร้อยตำรวจเอก ธ. หรือ ร. ถึงเรื่องราวหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น จึงไม่มีพฤติการณ์ใดที่จะบ่งชี้ว่าได้ร่วมกับ ร. ให้สินบนแก่เจ้าพนักงาน แต่อย่างไรก็ตาม จำเลยที่ 1 เป็นผู้นำเงินสินบนมามอบให้แก่เจ้าพนักงานตำรวจเพื่อจูงใจให้เจ้าพนักงานตำรวจกระทำการอันมิชอบด้วยหน้าที่ด้วยการปล่อยตัว ร. และ ก. และมิให้ยึดรถกระบะ เป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 กระทำความผิดแยกได้ต่างหากจากการกระทำความผิดของ ร. ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่ต่างไปจากคำฟ้องที่ว่า จำเลยทั้งสองร่วมกับ ร. ให้สินบนแก่เจ้าพนักงาน แต่ก็เป็นข้อเท็จจริงที่รับฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดฐานให้สินบนแก่เจ้าพนักงานแล้ว เพราะการกระทำนั้นไม่ว่าจำเลยทั้งสองจะร่วมกันกระทำหรือต่างกระทำความผิดเพียงลำพัง จำเลยแต่ละคนก็ย่อมถูกลงโทษ เป็นแต่จะลงโทษได้ตามคำขอของโจทก์หรือไม่เท่านั้น ข้อเท็จจริงตามคำฟ้องที่แตกต่างจากข้อเท็จจริงในทางพิจารณาดังกล่าวมิใช่ข้อสาระสำคัญ ทั้งจำเลยที่ 1 มิได้หลงต่อสู้ ศาลย่อมฟังลงโทษจำเลยที่ 1 ตามข้อเท็จจริงที่ได้ความนั้นได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง

3.

MULTIPLE CHOICE QUESTION

2 mins • 1 pt

นายหนึ่งและนายสองเสนอเงินให้ตำรวจที่จับกุมตนเองในข้อหามียาบ้าไว้ในครอบครองเพื่อเสพ จำนวน 100,000 บาท เพื่อแลกกับการปล่อยตัว ตำรวจที่จับกุมจึงตกลงโดยนายหนึ่งได้โทรศัพท์ไปบอกให้นายสามนำเงินมามอบให้ตำรวจ นายสามได้เงิน 100,000 บาท มามอบให้ตำรวจเพื่อปล่อยตัวนายหนึ่งและนายสอง ดังนี้ นายหนึ่ง นายสอง และนายสามมีความผิดฐานใด

ทั้ง 3 คนผิดฐานตัวการร่วมในความผิดฐานติดสินบนเจ้าพนักงาน ม.144

นายหนึ่งและนายสองเท่านั้นผิดฐานติดสินบนเจ้าพนักงาน ม.144

นายหนึ่งและนายสองผิดฐานติดสินบนเจ้าพนักงาน ม.144 ส่วนนายสามผิดฐานเป็นผู้สนับสนุน ม.86

นายหนึ่งและนายสองเป็นตัวการร่วมในความผิดฐานติดสินบนเจ้าพนักงาน ม.144 ส่วนนายสามผิดฐานติดสินบนเจ้าพนักงาน ม.144 ต่างหาก

Answer explanation

  • คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8623/2561

    • พิมพ์คำพิพากษา

  • การร่วมกระทำความผิดในลักษณะตัวการตาม ป.อ. มาตรา 83 จะต้องเป็นการร่วมกระทำความผิดด้วยกันซึ่งต้องพิจารณาทั้งในส่วนการกระทำและเจตนาของผู้ที่ร่วมกระทำ หมายถึงต้องร่วมกระทำผิดด้วยกันและกระทำโดยเจตนาร่วมกัน ทั้งทุกคนที่กระทำจะต้องรู้ถึงการกระทำของกันและกันและต่างประสงค์ถือเอาการกระทำของแต่ละคนเป็นการกระทำของตนด้วย ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 2 และที่ 3 เท่านั้นที่เป็นผู้เสนอเงินสินบนให้แก่เจ้าพนักงานตำรวจเพื่อให้ปล่อยตัวจำเลยที่ 2 และที่ 3 กับพวก โดยจำเลยที่ 1 มิได้เป็นผู้ร่วมเสนอเงินสินบนให้แก่เจ้าพนักงานตำรวจ จำเลยที่ 1 เพิ่งจะเข้ามาเกี่ยวข้องโดยเป็นผู้นำเงินสินบนมามอบให้แก่เจ้าพนักงานตำรวจเท่านั้น การกระทำของจำเลยที่ 1 ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในลักษณะของตัวการ และความผิดตาม ป.อ. มาตรา 144 นั้นเป็นความผิดสำเร็จตั้งแต่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ให้หรือขอให้เงินสินบนแก่เจ้าพนักงานตำรวจแล้ว การที่จำเลยที่ 1 นำเงินสินบนมามอบให้แก่เจ้าพนักงานตำรวจในภายหลังจึงไม่เป็นผู้สนับสนุนในการกระทำความผิดของจำเลยที่ 2 และที่ 3 เพราะการเป็นผู้สนับสนุนตาม ป.อ. มาตรา 86 จะต้องเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในการที่ผู้อื่นกระทำความผิดก่อนหรือขณะกระทำความผิดเท่านั้น แต่อย่างไรก็ตามจำเลยที่ 1 เป็นผู้นำเงินสินบนมามอบให้แก่เจ้าพนักงานตำรวจเพื่อจูงใจให้เจ้าพนักงานตำรวจกระทำการอันมิชอบด้วยหน้าที่ด้วยการปล่อยตัวจำเลยที่ 2 และที่ 3 ให้พ้นจากการจับกุม เป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 กระทำความผิดแยกได้ต่างหากจากการกระทำความผิดของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่ต่างไปจากคำฟ้องที่ว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ร่วมกันให้สินบนแก่เจ้าพนักงานก็ตาม แต่ก็เป็นข้อเท็จจริงที่รับฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 กระทำผิดฐานให้สินบนแก่เจ้าพนักงานแล้ว เพราะในการกระทำนั้นไม่ว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 จะร่วมกันกระทำหรือต่างกระทำความผิดเพียงลำพัง จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 แต่ละคนก็ย่อมถูกลงโทษ เป็นแต่จะลงโทษได้เต็มคำขอของโจทก์หรือไม่เท่านั้น ข้อเท็จจริงตามคำฟ้องที่แตกต่างจากข้อเท็จจริงในทางพิจารณาดังกล่าวมิใช่ข้อสาระสำคัญ และจำเลยที่ 1 มิได้หลงต่อสู้ ศาลย่อมรับฟังลงโทษจำเลยที่ 1 ได้ตามข้อเท็จจริงที่ได้ความในทางพิจารณานั้น ตามนัยแห่ง ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง

4.

MULTIPLE CHOICE QUESTION

2 mins • 1 pt

นายหนึ่งและนายสองเสนอเงินให้ตำรวจที่จับกุมตนเองในข้อหามียาบ้าไว้ในครอบครองเพื่อเสพ นายหนึ่งและนายสองเสนอเงินให้ตำรวจจำนวน 100,000 บาท เพื่อแลกกับการปล่อยตัว ตำรวจที่จับกุมจึงตกลงโดยนายหนึ่งได้โทรศัพท์ไปบอกให้นายสามนำเงินมามอบให้ตำรวจ นายสามได้เงิน 100,000 บาท มามอบให้ตำรวจเพื่อปล่อยตัวนายหนึ่งและนายสอง ดังนี้ ตำรวจที่รับเงินมีความผิดฐานใด

ผิดฐานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ม.157

ผิดฐานเจ้าพนักงานใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบ ม.148

ผิดฐานเจ้าพนักงานเรียกรับสินบน ม.149

ถูกทุกข้อ

Answer explanation

ฎีกา 2488/2558

สำนักงานตำรวจแห่งชาติแต่งตั้งจำเลยให้เป็นหัวหน้าศูนย์ป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับน้ำมันเชื้อเพลิงในโครงการน้ำมันสีเขียว โดยจำเลยมีหน้าที่จัดเจ้าพนักงานตำรวจกองตำรวจน้ำไปตรวจสอบว่า เรือบรรทุกน้ำมันเชื้อเพลิงได้เดินทางไปถึงน่านน้ำเขตต่อเนื่องของราชอาณาจักรด้วยความเรียบร้อย โดยมีน้ำมันเชื้อเพลิงครบตามจำนวนที่ได้รับมาจากคลังน้ำมันหรือไม่ เมื่อเห็นว่าเรียบร้อยดีแล้วก็จะลงลายมือชื่อในใบกำกับการขนส่งน้ำมันดีเซล หลังจากนั้นเรือดังกล่าวจึงสามารถถ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงที่ขนส่งได้ การตรวจสอบการขนส่งน้ำมันดีเซลในโครงการน้ำมันสีเขียวเพื่อป้องกันมิให้มีการลักลอบจำหน่ายในราชอาณาจักร หรือนำน้ำมันดังกล่าวกลับเข้ามาจำหน่ายในราชอาณาจักร จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการอย่างหนึ่งในงานปราบปรามการกระทำความผิด ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานตำรวจน้ำเดินทางไปกับเรือบรรทุกน้ำมันไปจนถึงน่านน้ำเขตต่อเนื่องของราชอาณาจักรเพื่อปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการ จำเลยย่อมไม่มีสิทธิรับเงินค่าใช้จ่ายใดๆ จากผู้ประกอบการจำหน่ายน้ำมันดีเซล การที่จำเลยรับเงินแล้วสั่งการให้เจ้าพนักงานตำรวจกองตำรวจน้ำเดินทางไปกับเรือบรรทุกน้ำมันเพื่อปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว แม้จะนำเงินมาจ่ายเป็นค่าเบี้ยเลี้ยงพิเศษให้แก่เจ้าพนักงานตำรวจกองตำรวจน้ำที่เดินทางไปปฏิบัติหน้าที่ในเรือบรรทุกน้ำมันก็ตาม ก็เป็นการรับทรัพย์สินเพื่อกระทำการหรือไม่กระทำการอย่างใดในตำแหน่ง ไม่ว่าการนั้นจะชอบหรือมิชอบด้วยหน้าที่ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานเรียก รับ หรือยอมจะรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดสำหรับตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบ เพื่อกระทำการหรือไม่กระทำการอย่างใดในตำแหน่ง ไม่ว่าการนั้นจะชอบหรือมิชอบด้วยหน้าที่ตาม ป.อ. มาตรา 149 เมื่อการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามมาตรา 149 ซึ่งเป็นบทเฉพาะแล้ว กรณีไม่จำเป็นต้องปรับบทความผิดตามมาตรา 157 ที่เป็นบททั่วไปอีก

5.

MULTIPLE CHOICE QUESTION

2 mins • 1 pt

นายหนึ่งเป็นอาสาสมัครของตำรวจ แต่งกายชุดเครื่องแบบตำรวจไปที่ร้านค้าของนายมงคล พูดขอเงิน นางมงคลปฏิเสธว่าไม่มี นางสิวลีเดินมาจากหลังบ้านสอบถามได้ความจากนายมงคลว่าจำเลยมาขอเงิน จำเลยพูดว่าผู้ใหญ่ให้มาเอา นางสิวลีคงปฏิเสธว่าไม่มีเงิน นายหนึ่งก็ว่าค้าขายใหญ่โตไม่คิดติดต่อกับตำรวจบ้างหรือ แล้วตามนายมงคลไปที่กองไม้ จำเลยดูกองไม้สักครู่ก็ออกจากร้านไปหลังจากนั้นประมาณ 1 ชั่วโมง นายหนึ่งกลับมาพูดกับนางสิวลีว่ารองผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดชลบุรีให้มาเอาเงิน 3,000 - 4,000 บาท นางสิวลีจะให้เพียง 100 บาท จำเลยบอกว่าไม่พอแล้วจำเลยคงนั่งอยู่ในร้านไม่ยอมออกไป ดังนี้ นายหนึ่งมีความผิดฐานใด

ผิดฐานแต่งกายเลียบแบบเจ้าพนักงาน ม.146

ผิดฐานเจ้าพนักงานใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบ ม.148

ผิดฐานกรรโชกทรัพย์ ม.337

ถูกทุกข้อ

Answer explanation

  • คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 670/2521

    • พิมพ์คำพิพากษา

  • จำเลยเป็นตำรวจแต่งเครื่องแบบไปขอเงินผู้เสียหาย โดยอ้างว่าผู้ใหญ่ให้มาเอา เมื่อผู้เสียหายว่าไม่มี จำเลยพูดว่าค้าขายใหญ่โตไม่คิดติดต่อกับตำรวจบ้างหรือแล้วจำเลยกลับไป ต่อมาอีกประมาณ 1 ชั่วโมง จำเลยกลับมาหาผู้เสียหายอีก และบอกว่ารองผู้กำกับการตำรวจให้มาเอาเงิน 3,000-4,000 บาท ผู้เสียหายจะให้เพียง 100 บาท จำเลยว่าไม่พอ ดังนี้ ทางพิจารณาไม่ได้ความว่าจำเลยแกล้งกล่าวหาจับกุมผู้เสียหายในข้อหาใด แล้วจำเลยใช้อำนาจหน้าที่ข่มขืนใจให้ผู้เสียหายมอบเงินแก่จำเลย การที่จำเลยขอเงินจากผู้เสียหาย จำเลยไม่ได้ใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่ของจำเลยเอง ที่จำเลยพูดว่าค้าขายใหญ่โตไม่คิดติดต่อกับตำรวจบ้างหรือ ก็ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการขู่เข็ญว่าจะทำอันตรายต่อเสรีภาพและทรัพย์สินของผู้เสียหาย การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 148 และ 337 ประกอบด้วยมาตรา 80

6.

MULTIPLE CHOICE QUESTION

2 mins • 1 pt

นางสวยเป็นลูกจ้างประจำ ตำแหน่งนักการ เทศบาลตำบลแห่งหนึ่งได้ร่วมกับนางศรีซึ่งเป็นปลัดทำการขียนใบเสร็จรับเงินให้ผู้ชำระค่าธรรมเนียมและผู้ชำระค่าภาษีตามจำนวนเงินที่ชำระจริง ส่วนต้นขั้วใบเสร็จรับเงินนั้น ทั้งสองคนเขียนจำนวนเงินต่ำกว่าความเป็นจริง แล้วส่งมอบแก่เทศบาลเพียงเท่ากับจำนวนเงินในใบเสร็จรับเงินฉบับต้นขั้ว แล้วเอาเงินส่วนต่างไป ดังนี้ นางศรีมีความผิดฐานใด

เจ้าพนักงานปลอมเอกสาร ม.161

เจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์ ม.147

เจ้าพนักงานใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริต ม.151

ถูกทุกข้อ

Answer explanation

  • คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4347/2558

  • จำเลยที่ 2 เป็นลูกจ้างประจำ ตำแหน่งนักการ เทศบาลตำบลจักราช มิใช่ข้าราชการที่ได้รับการแต่งตั้งตามกฎหมายว่าด้วยการแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งหรือเป็นผู้ดำรงตำแหน่งหน้าที่ซึ่งมีกฎหมายระบุไว้โดยเฉพาะให้ถือเป็นเจ้าพนักงาน จำเลยที่ 2 จึงไม่ใช่เจ้าพนักงานตามกฎหมาย เนื่องจาก ป.อ. มาตรา 147, 151, 161 เป็นบทบัญญัติที่ลงโทษแก่บุคคลผู้กระทำความผิดที่เป็นเจ้าพนักงานซึ่งกระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่เท่านั้น แม้จำเลยที่ 2 จะร่วมกับจำเลยที่ 1 กระทำความผิดต่อบทบัญญัติดังกล่าว ก็จะลงโทษจำเลยที่ 2 อย่างเจ้าพนักงานไม่ได้ คงลงโทษจำเลยที่ 2 ได้แต่เพียงในฐานะผู้สนับสนุนตาม ป.อ. มาตรา 86 เท่านั้น ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

7.

MULTIPLE CHOICE QUESTION

2 mins • 1 pt

นางสวยเป็นลูกจ้างประจำ ตำแหน่งนักการ เทศบาลตำบลแห่งหนึ่งได้ร่วมกับนางศรีซึ่งเป็นปลัดทำการขียนใบเสร็จรับเงินให้ผู้ชำระค่าธรรมเนียมและผู้ชำระค่าภาษีตามจำนวนเงินที่ชำระจริง ส่วนต้นขั้วใบเสร็จรับเงินนั้น ทั้งสองคนเขียนจำนวนเงินต่ำกว่าความเป็นจริง แล้วส่งมอบแก่เทศบาลเพียงเท่ากับจำนวนเงินในใบเสร็จรับเงินฉบับต้นขั้ว แล้วเอาเงินส่วนต่างไป ดังนี้ นางสวยมีความผิดฐานใด

เป็นผู้สนับสนุนในความผิด เจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์ ม.147 เจ้าพนักงานใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริต ม.151 และเจ้าพนักงานปลอมเอกสาร ม.161

เป็นตัวการร่วมในความผิด เจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์ ม.147 เจ้าพนักงานใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริต ม.151 และเจ้าพนักงานปลอมเอกสาร ม.161

ผิดฐานเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ม.157

ไม่มีความผิด

Answer explanation

  • คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4347/2558

  • จำเลยที่ 2 เป็นลูกจ้างประจำ ตำแหน่งนักการ เทศบาลตำบลจักราช มิใช่ข้าราชการที่ได้รับการแต่งตั้งตามกฎหมายว่าด้วยการแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งหรือเป็นผู้ดำรงตำแหน่งหน้าที่ซึ่งมีกฎหมายระบุไว้โดยเฉพาะให้ถือเป็นเจ้าพนักงาน จำเลยที่ 2 จึงไม่ใช่เจ้าพนักงานตามกฎหมาย เนื่องจาก ป.อ. มาตรา 147, 151, 161 เป็นบทบัญญัติที่ลงโทษแก่บุคคลผู้กระทำความผิดที่เป็นเจ้าพนักงานซึ่งกระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่เท่านั้น แม้จำเลยที่ 2 จะร่วมกับจำเลยที่ 1 กระทำความผิดต่อบทบัญญัติดังกล่าว ก็จะลงโทษจำเลยที่ 2 อย่างเจ้าพนักงานไม่ได้ คงลงโทษจำเลยที่ 2 ได้แต่เพียงในฐานะผู้สนับสนุนตาม ป.อ. มาตรา 86 เท่านั้น ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

Create a free account and access millions of resources

Create resources
Host any resource
Get auto-graded reports
or continue with
Microsoft
Apple
Others
By signing up, you agree to our Terms of Service & Privacy Policy
Already have an account?